ภาษีเกี่ยวกับธุรกิจร้านนวด ที่ผู้ประกอบการควรรู้ก่อนเริ่มธุรกิจ

ภาษีเกี่ยวกับธุรกิจร้านนวด

ภาษีเกี่ยวกับธุรกิจร้านนวด ที่ผู้ประกอบการควรรู้ก่อนเริ่มธุรกิจ

การนวดเป็นศาสตร์ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในไทย โดยเฉพาะการนวดแผนไทยที่เป็นที่รู้จักของชาวต่างชาติ ซึ่งทำให้ธุรกิจร้านนวดเป็นที่นิยมของเหล่าผู้ประกอบการ ทั้งนี้ สำหรับผู้ประกอบการมือใหม่ ที่ต้องการเปิดร้านนวดนอกจากการบริหารและการตลาดแล้ว สิ่งหนึ่งที่จะขาดไปไม่ได้เลย คือ การจัดการภาษี ซึ่งถือเป็นส่วนสำคัญในการดำเนินธุรกิจ วันนี้ทาง Fahthong Accounting ได้ทำการสรุปภาษีที่เกี่ยวข้องกับร้านนวดให้ผู้ประกอบการมือใหม่เข้าใจแบบง่าย ๆ กันค่ะ

ก่อนอื่นเรามาเตรียมความพร้อมในการเปิดร้านนวดกันก่อนนะคะ

การเริ่มธุรกิจร้านนวดแผนโบราณ

ประเภทของธุรกิจสามารถแบ่งได้หลักๆ คือ แบบบุคคลธรรมดา และนิติบุคคล โดยผู้ประกอบการสามารถเลือกได้ว่าจะดำเนินธุรกิจด้วนรูปแบบตามความเหมาะสมของกิจการ

สถานประกอบการและทำเลที่ตั้ง

การเลือกสถานที่ตั้งของร้านนวดเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากลูกค้าที่ใช้บริการมักอยู่ในกลุ่มผู้มีรายได้ ปานกลางถึงสูง การเลือกสถานที่ตั้งและการตกแต่ง จึงถือเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยในการดึงดูดกลุ่มลูกค้า  นอกจากนี้ผู้ประกอบการจะต้องดำเนินการขอใบรับรองมาตรฐานสถานประกอบการนวดเพื่อสุขภาพ

การขอใบรับรองมาตรฐานสถานประกอบการนวดเพื่อสุขภาพ

การนวดเพื่อสุขภาพ คือ การนวดเพื่อการผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ความเครียด ความเมื่อยล้า เช่น การนวดแผนไทย การนวดฝ่าเท้า เป็นต้น

โดยผู้ประกอบการจะต้องติดต่อหน่วยงานหลักทั้งหมด 3 หน่วยงาน ได้แก่

การขอใบรับรองมาตรฐาน จะต้องติดต่อทั้งหมด 3 หน่วยงาน

  1. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด

ยื่นขอใบรับรองมาตราฐานสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ หรือ เพื่อเสริมสวย ณ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดของจังหวัดที่ตั้งสถานประกอบการ

  1. องค์การบริหารส่วนตำบล หรือ เทศบาล

* ยื่นขอจดอนุญาตกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ

* ใบอนุญาตใช้อาคาร

  1. สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้า

กรณีผู้ประกอบการเป็นนิติบุคคลและยังไม่ได้จดทะเบียนกิจการในรูปแบบห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัท จำกัด ต้องดำเนินการจดทะเบียนนิติบุคคล ณ สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้า

บุคลากรผู้ให้บริการนวด

ผู้ให้บริการนวดนอกจากต้องเป็นบุคคลที่มีใจรักในงานบริการ มีความ อดทนสูง และมีสุขภาพพละกำลังมือที่แข็งแรง มีความรู้ความเข้าใจศาสตร์แห่งการนวด ผู้ที่ต้องการเป็นหมอนวดจะต้องผ่านการอบรมหลักสูตรนวดให้ครบจำนวนชั่วโมง และต้องขอใบรับรองแพทย์ ขึ้นทะเบียนหมอนวดให้ถูกต้องด้วย

  • สำหรับผู้จัดการหรือผู้ดำเนินงานสปา จะเป็นการขอใบอนุญาตผู้ดำเนินการสปา
  • ในส่วนของผู้ให้บริการการนวดเพื่อสุขภาพ เป็นการขอจดทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกอบศิลปะ กรณีเป็นการนวดเพื่อบำบัด วินิจฉัยโรคหรือฟื้นฟูสมรรถภาพ ส่วนกรณีเป็นการนวดเพื่อบรรเทาอาการปวดเมื่อย ไม่ใช่เพื่อการรักษาโรคไม่จำเป็นต้องขึ้นทะเบียนและขออนุญาต

สามารถขึ้นทะเบียนหมอนวด ที่ไหนได้บ้าง

เมื่อตรวจสอบคุณสมบัติ เตรียมเอกสารครบถ้วน และขอใบรับรองแพทย์ ขึ้นทะเบียนหมอนวดเรียบร้อยแล้ว สามารถยื่นเอกสารขึ้นทะเบียนหมอนวดได้ 3 ช่องทาง ได้แก่

  1. ยื่นด้วยตนเองที่ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) ใกล้บ้าน
  2. ยื่นด้วยตนเองที่ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.)
  3. ยื่นทางออนไลน์ผ่านเว็บไซต์https://bizportal.go.th โดยทำตามขั้นตอนในลิงก์นี้ได้เลย https://hss.moph.go.th หากมีข้อสงสัยสามารถโทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วน สบส. 1426

เมื่อดำเนินการยื่นเอกสารและชำระเงินค่าธรรมเนียมการขึ้นทะเบียนหมอนวดเรียบร้อยแล้ว รอรับใบรับรองการขึ้นทะเบียนหมอนวดภายใน 30 วันได้เลย

 

 

 วัสดุและอุปกรณ์ประกอบการนวด

น้ำมันนวด สมุนไพร หรืออุปกรณ์การประคบหรือช่วยนวดได้ เป็นส่วนสำคัญในการให้บริการ รวมทั้งเก้าอี้หรือเตียงที่ใช้สำหรับการนวด หมอน ผ้าปู ผ้าขนหนู ซึ่งอุปกรณ์ทั้งหมดจะต้องมีมาตรฐาน สะดวก และถูกคุณลักษณะ

 กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง

แม้ว่าธุรกิจร้านนวดเพื่อผ่อนคลายไม่ต้องขึ้นทะเบียนกับกระทรวงสาธารณะสุขแต่ผู้ประกอบการพึงระวังการนวดของ พนักงานต้องไม่ทำให้เกิดการบาดเจ็บหรือ เป็นอันตรายต่อลูกค้าทั้งร่างกายและจิตใจ มิฉะนั้นจะมีความผิดตามประมวลกฎหมาย อาญามาตรา 295

ภาษีที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจร้านนวด แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ

ช่วงเริ่มเปิดร้าน

ภาษีมูลค่าเพิ่ม

เมื่อผู้ประกอบการซื้อสินค้าจากร้านที่มีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ผู้ประกอบการจะต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 ในกรณีที่ผู้ประกอบการมีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ผู้ขายจะต้องออกใบกำกับภาษีให้ โดยผู้ประกอบการจะต้องเก็บเอาไว้ เพื่อใช้สำหรับการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มในแต่ละเดือน

การจ้างลูกจ้าง

ในกรณีที่ผู้ประกอบการที่เป็นนิติบุคคลได้มีการจ้างลูกจ้าง  ผู้ประกอบการจะต้อง “หัก” ภาษีหัก ญ ที่จ่ายไว้ก่อนที่จะจ่ายเงินให้กับลูกจ้าง แล้วนำส่งเป็นภาษีให้กรมสรรพากรไม่เกินวันที่ 7 ของเดือนถัดไป

การจัดหาสถานที่ตั้ง

ผู้ประกอบการที่เป็นนิติบุคคลหากมีการเช่าสถานที่เพื่อมเปิดร้านนวด จะต้องต้องทำการหัก ณ ที่จ่ายแก่ผู้ให้เช่า 5 % แล้วนำส่งเป็นภาษีให้กรมสรรพากรไม่เกินวันที่ 7 ของเดือนถัดไป

 

 

 

 

เมื่อเริ่มเปิดให้บริการ มีลูกค้า และมีรายได้

จะมี ภาษีเกี่ยวกับธุรกิจร้านนวด ดังต่อไปนี้

  1. ภาษีเงินได้

เมื่อผู้ประกอบการมีรายได้จากการรับบริการนวดหรือสายผลิตภัณฑ์ภายในร้าน ผู้ประกอบการจะมีหน้าที่ต้องเสียภาษี เงินได้ตามรูปแบบธุรกิจ คือ บุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

คือ ภาษีที่จัดเก็บกับบุคคลทั่วไปที่มีรายได้ โดยสามารถเลือกหักค่าใช้จ่ายได้ 2 แบบคือ

  1. หักค่าใช้จ่ายตามจริง คือ การหักค่าใช้จ่ายตามที่เกิดขึ้นจริงของกิจการ โดยจะต้องสามารถแสดงหลักฐานพิสูจน์ค่าใช้จ่ายได้
  2. หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมา

ซึ่งผู้ประกอบการร้านนวดที่เป็นบุคคลธรรมดา ต้องทำการยื่นภาษี 2 ครั้ง คือ

  • ครั้งที่1 ภ.ง.ด.94 (ภาษีกลางปี) ยื่นภายในเดือนกันยายน โดยสามารถยื่นด้วยตัวเองสำนักงานสรรพากรทั่วประเทศ หรือยื่นออนไลน์ได้ที่เว็บไซต์สรรพากร
  • ครั้งที่ 2 ภ.ง.ด.90 ยื่นภายในเดือนมีนาคมของปีถัดไป

ภาษีเงินได้นิติบุคคล

ผู้ประกอบการร้านนวดได้มีการจดทะเบียนเป็นบริษัท เป็นห้างหุ้นส่วน ห้างร่วมค้า หรือเป็นคณะบุคคล ต้องมีการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล โดยภาษีเงินได้นิติบุคคลจะใช้รอบระยะเวลาบัญชีในการคำนวนและกำหนดเวลาในการยื่นภาษีซึ่งจะเริ่มต้นเมื่อต้นและสิ้นสุดลงเมื่อใดก็ได้ โดยยอดภาษีจะคำนวณจากกำไรสุทธิคูณด้วยอัตราภาษีที่กำหนด โดยทำการยื่นภาษี 2 ครั้ง คือ

  • ภาษีเงินได้ครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.51 ภายใน 2 เดือน นับ แต่วันครบ 6 เดือนของรอบระยะเวลาบัญชี
  • ภาษีเงินได้สิ้นรอบระยะเวลาบัญชี ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.50 ภายใน 150 วัน นับ ตั้งแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีโดยนำภาษีที่จ่ายในครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี มาหักออกจากภาษีที่คำนวณได้เมื่อสิ้นรอบเวลาบัญชี

ภาษีมูลค่าเพิ่ม

รายได้จากการประกอบธุรกิจสุขภาพ ทั้งฟิตเนส อาหารเสริม นวดหน้า นวดตัว เครื่องสำอางหรือสมุนไพร เป็นรายได้ที่อยู่ในข่ายที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ผู้ประกอบการต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เมื่อมีรายได้เกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี โดยมีหน้าที่ต้องเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อหรือรับบริการ และออกใบกำกับภาษีให้แก่ผู้ซื้อเมื่อ ส่งมอบสินค้าหรือรับชำระราคา แล้วแต่กรณี

และมีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มตามแบบ ภ.พ.30 ในแต่ละเดือนภาษี ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ไม่ว่าจะมีรายได้จากการประกอบกิจการหรือไม่

สิทธิประโยชน์ทางภาษี

  • ผู้ประกอบการที่เป็นวิสาหกิจชุมชนที่มิใช่ นิติบุคคลและมีรายได้ไม่เกิน 1.8 ล้านบาท ต่อปี ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา*
  • ผู้ประกอบการ SMEs ได้รับการลดภาษี หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาในอัตราเร่ง และคิดรายจ่ายที่หักได้มากกว่า 1 เท่า

 

หากมีคำถามเพิ่มเติมสามารถทักหา Fahthong Accounting ได้ทันที ทางเรายินดีให้บริการให้ตอบคำถาม หรือถ้าต้องการคนทำบัญชีหรือผู้ช่วยทางด้านบัญชีสามารถสอบถามเพิ่มเติม หรือส่งรายละเอียดให้เราได้เลยค่ะ