รายงานสินค้าคงเหลือและวัตถุดิบ
รายงานสินค้าคงเหลือและวัตถุดิบ คือรายงานประเภทหนึ่งที่กฎหมายกำหนดให้ผู้ประกอบการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มที่ประกอบกิจการขายสินค้ามีหน้าที่จัดทำ (มาตรา 87) ซึ่งมีการกำหนดรูปแบบให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งบางธุรกิจอาจจะใช้โปรแกรมบัญชีที่มีการจัดทำระบบสินค้าคงเหลือนี้ในตัวได้เลย ช่วยให้จัดการสต็อกถูกต้อง ตั้งแต่สินค้าจริง ยอดขาย สต็อกการ์ด รายงานต่างๆ
สินค้าขาดจากรายงาน
ถือเป็นการขาย ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งคำนวณด้วยราคาตลาด x 7% และต้องเสียเบี้ยปรับ 2 เท่าของจำนวนภาษีที่ต้องเสีย
สินค้าเกินจากรายงาน
ถือว่าจัดทำสินค้าคงเหลือไม่ถูกต้องและต้องเสียค่าปรับ 2,000 บาท (เปรียบเทียบปรับเพียง 1,000) โดยมีอายุความเพียง 1 ปีนับจากวันกระทำความผิด
การทำลายของเสีย สินค้าที่เสื่อมคุณภาพ สินค้าที่มีตำหนิสินค้าที่หมดสมัยนิยม สินค้าที่หมดอายุ และเศษซาก ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 79/2541
ของเสียตามปกติ
ตามคำสั่งกรมสรรพากร ทป 79/2541 ต้นทุนของของเสียตามปกติที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิต เป็นส่วนหนึ่งของต้นทุนของผลิตภัณฑ์หน่วยที่ดีด้วย – นับเข้าเป็นต้นทุกการผลิตได้ไม่ต้องแจ้งสรรพากร
ของเสียที่เกินปกติ
ของเสียที่เกิดขึ้นมากกว่าอัตราปกติที่ได้กำหนดไว้ในกระบวนการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ เศษซาก สินค้ามีตำหนิ สินค้าเสื่อมสภาพ สินค้าล้าสมัย
>> ข้อมูลเพิ่มเติมจากบทความ สินค้าขาดจากรายงาน สินค้าเกินจากรายงาน
เอกสารทางธุรกิจของกิจการ
1. ใบเสนอราคา (Quotation)
ใบเสนอราคา คือ เอกสารที่ผู้ประกอบการออกให้กับฝ่ายลูกค้า(ผู้ซื้อ) เพื่อให้ลูกค้าพิจารณาราคาสินค้าหรือบริการ รวมถึงเงื่อนไขต่าง ๆ ก่อนตัดสินใจซื้อ หรือใช้บริการ
2. ใบวางบิล / ใบแจ้งหนี้ (Invoice)
ใบวางบิล / ใบแจ้งหนี้ คือ เอกสารที่ส่งไปยังลูกค้า เพื่อเรียกเก็บเงินจากลูกค้าสำหรับค่าสินค้า หรือค่าบริการที่เราได้ทำเสร็จแล้ว และเพื่อที่ลูกค้าจะได้นำเอกสารใบนี้ไปเป็นหลักฐานในการทำรายการจ่ายเงินให้เรา
3. ใบกำกับภาษี (TAX Invoice)
ใบกำกับภาษี คือ เอกสารที่ใช้สำหรับแจ้งลูกค้าว่าเราได้ทำการส่งสินค้าให้แล้วตามเงื่อนไขและปริมาณที่ได้ตกลงกันไว้ ซึ่งเป็นเอกสารสำคัญสำหรับคนที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และถ้าธุรกิจไหนไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มก็จะไม่มีสิทธิออกใบกำกับภาษี และเป็นเอกสารที่ใช้สำหรับผู้ซื้อที่ต้องการใช้ใบกำกับภาษีเป็นหลักฐานเพื่อนำ “ภาษีซื้อ” และผู้ขายที่ต้องนำ “ภาษีขาย” ไปใช้เพื่อประกอบการยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ ภ.พ. 30
4. ใบเสร็จรับเงิน (Receipt)
ใบเสร็จรับเงิน คือ เอกสารที่ใช้เป็นหลักฐานว่าได้รับเงินค่าสินค้าหรือค่าบริการที่เรียกเก็บจากใบแจ้งหนี้เรียบร้อยแล้ว
ใบสำคัญรับเงิน
ใบสำคัญรับเงิน คือ เอกสารสำหรับยืนยันว่าผู้ขายได้รับเงินจากผู้ซื้อเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และใบสำคัญรับเงินนั้นจะออกให้ผู้ซื้อ ซึ่งใบสำคัญรับเงินนั้นจะใช้กรณีผู้รับเงินไม่สามารถออกใบเสร็จรับเงินให้ได้ แต่ผู้ขายยินยอมจะลงลายมือชื่อในช่อง “ผู้รับเงิน”
ซึ่งบริษัทต้องจัดทำใบสำคัญรับเงินแนบกับสำเนาบัตรประชาชนของผู้รับเงิน
ใบรับรองแทนใบเสร็จรับเงิน
ใบรับรองแทนใบเสร็จรับเงิน คือ เอกสารที่ใช้ในกรณีการจ่ายเงินเพื่อซื้อสินค้าหรือบริการเบ็ดเตล็ด แต่ไม่สามารถเรียกใบเสร็จรับเงินจากผู้ขายหรือผู้ให้บริการได้ เราจึงต้องให้พนักงานของกิจการเป็นผู้รับรองการจ่ายเงินดังกล่าวเอง โดยการใช้ใบรับรองแทนใบเสร็จรับเงินนี้สามารถแบ่งออกเป็น 2 กรณี ดังนี้
1. กรณีบุคคลธรรมดารับเงิน แล้วไม่ออกบิลให้ เพราะเสียเวลาเนื่องจากจำนวนเงินไม่เยอะ เช่น ค่าวินมอร์เตอร์ไซค์
2. กรณีบุคคลธรรมดารับเงิน แล้วไม่ออกบิลให้ บริษัทจึงต้องจัดทำใบรับรองแทนใบเสร็จรับเงินแนบกับหลักฐานการจ่ายเงิน เช่น สลิปโอนเงิน สำเนาเช็ค หลักฐานการซื้อสินค้า เช่น รูปถ่ายสินค้า หลักฐานการสั่งซื้อ
ใบสำคัญจ่าย
ใบสำคัญจ่าย คือ เอกสารทางบัญชีที่แสดงหลักฐานการจ่ายเงินให้กับผู้ขาย เพื่อใช้ในการอนุมัติการจ่ายเงิน กรณีที่ได้รับบิล หรือใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษี ที่ระบุชื่อของผู้อื่น เช่น ค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า หรือค่าใช้จ่ายอื่นๆ ซึ่งใบสำคัญจ่ายนั้นจะต้องมีการแนบหลักฐานการจ่ายเงินที่น่าเชื่อถือที่กิจการสามารถพิสูจน์หรือแสดงหลักฐานได้ว่าตัวกิจการเป็นผู้จ่ายเงินจริง ไม่ว่าจะเป็นหลักฐานการโอนเงิน สัญญาเช่า สำเนาใบโอนเงินธนาคาร หลักฐานการหักภาษี ณ ที่จ่าย รายการเบิกจ่ายที่ผ่านการอนุมัติพร้อมลายมือชื่อผู้อนุมัติจ่าย หรือรายงานการประชุมที่มีมติให้อนุมัติเป็นรายจ่าย เป็นหลักฐานประกอบ
การใช้ใบสำคัญจ่ายสามารถแบ่งออกเป็น 2 กรณี ดังนี้
1. กรณีชำระค่าสินค้าและบริการด้วยเงินสด ให้บริษัทจัดทำเอกสารใบรับรองแทนใบเสร็จรับเงินแนบกับสำเนาบัตรประชาชนผู้รับเงิน
2. กรณีชำระค่าสินค้าและบริการด้วยการโอนเงินผ่านธนาคาร ให้บริษัทจัดทำเอกสาร ใบรับรองแทนใบเสร็จรับเงินแนบกับหลักฐานการจ่ายเงิน เช่น สลิปโอนเงิน หรือสำเนาใบโอนเงินธนาคาร
หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (ใบ 50 ทวิ)
หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย คือ หนังสือที่ผู้จ่ายเงินซึ่งได้ทำการหักภาษี ณ ที่จ่าย ออกให้กับผู้รับเงินซึ่งถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ไว้เป็นหลักฐานการหักภาษี
ออกหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย เมื่อไหร่
- กรณีเงินเดือน ค่าจ้าง ค่านายหน้า บำเหน็จ (เงินได้มาตราที่ 40(1) (2)) ให้ออกหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่ายภายในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ของปีถัดจากปีที่มีการหัก ณ ที่จ่าย หรือภายใน 1 เดือนนับตั้งแต่วันที่ผู้ถูกหัก ณ ที่จ่ายออกจากงานในระหว่างปีภาษี
- กรณีจ่ายเงินได้อื่น ๆ เช่น ค่าเช่า ค่าบริการ ค่าขนส่ง ค่าโฆษณา เป็นต้น (เงินได้ตามมาตรา 40(3) (4) (5) (6) (7) หรือ (8)) ให้ออกหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่ายทันทีทุกครั้งที่มีการหัก ณ ที่จ่าย