การขอคืนภาษีซื้อ

ขอคืนภาษีซื้อ

คนทำธุรกิจต้องรู้เกี่ยวกับการขอคืนภาษีซื้อ

สำหรับธุรกิจที่มีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (Vat 7%) ตัวธุรกิจเองต้องเสียภาษีซื้อเมื่อมีการซื้อสินค้า / บริการจากผู้ขายที่จดทะเบียน Vat เหมือนกัน และเพิ่มภาษีขายเข้าไปในตัวสินค้า / บริการของตนเอง ซึ่งภาษีทั้ง 2 ประเภทที่กล่าวมาจะถูกจัดอยู่ในหมวดของภาษีมูลค่าเพิ่ม ทางธุรกิจมีหน้าที่ในการคำนวณเพื่อนำส่งให้กับกรมสรรพากรด้วยวิธีภาษีขาย – ภาษีซื้อ และถ้ามีเครดิตภาษีเหลืออยู่ หมายถึงภาษีซื้อมีมากกว่าภาษีขายก็จะสามารถขอคืนภาษีซื้อได้นั่นเอง

รูปแบบการขอคืนภาษีซื้อ

สำหรับการขอคืนภาษีซื้อจะแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ การขอคืนภาษีซื้อในลักษณะเครดิต และเงินสด ขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของผู้ประกอบการสำหรับเลือกขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มนี้

  • การขอคืนเครดิต หากในเดือนใดมีเครดิตภาษีเหลืออยู่ก็สามารถยกยอดเพื่อเอาไว้จ่ายในเดือนถัดไปได้ หรือถ้าจ่ายเดือนถัดไปแล้วยังเหลือก็ยกยอดไว้จ่ายเดือนถัด ๆ ไปจนกว่าจะหมด
  • การขอคืนเงินสด เป็นการขอคืนจากกรมสรรพากรด้วยเงินสดหรือการโอนเงินเข้าธนาคาร

ภาษีซื้อต้องห้าม

สิ่งที่คนทำธุรกิจหรืออยู่ในแวดวงบัญชีภาษีต้องรู้เกี่ยวกับการทำภาษีซื้อนั่นคือ “ภาษีซื้อต้องห้าม” เป็นประเภทของภาษีซื้อที่ไม่สามารถนำมาหักกับภาษีขายได้ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

  1. ภาษีซื้อต้องห้ามที่ใช้คำนวณเป็นรายจ่ายสุทธิได้ หลักสำคัญคือ
  • มีใบกำกับภาษีอย่างย่อ (ลงใช้เป็นหลักฐานได้)
  • สินค้า / บริการนั้นเกี่ยวข้องกับธุรกิจของตนเอง
  • มีเงื่อนไขอื่น ๆ เป็นไปตามกฎหมายกำหนด
  1. ภาษีต้องห้ามที่ไม่สามารถใช้คำนวณเป็นรายจ่ายสุทธิ มีหลักสำคัญคือ
  • ใบกำกับภาษีสูญหาย ไม่มีใบกำกับภาษี ข้อความบนใบกำกับภาษีไม่ถูกต้อง ไม่ครบถ้วนในส่วนสาระสำคัญตามกฎหมายกำหนด
  • สินค้า / บริการนั้นไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของตนเอง
  • ภาษีซื้อมีการออกให้โดยบุคคลที่ไม่มีสิทธิ์ออกใบกำกับภาษี เช่น ไม่ใช่ผู้ประกอบการจดทะเบียน Vat, จดทะเบียน Vat นอกราชอาณาจักรแต่มีตัวแทนออกใบกำกับภาษีในนามผู้ประกอบการจดทะเบียน Vat, ผู้ประกอบการที่ถูกนำสินทรัพย์ขายทอดตลาดหรือขายด้วยวิธีอื่นจากบุคคลอื่น

จากเนื้อหาที่ระบุมาสำหรับมือใหม่ในการประกอบธุรกิจที่จดทะเบียน Vat อาจมีข้อสงสัยหลายประการ จึงอยากแนะนำให้เลือกผู้ทำบัญชีที่มีประสบการณ์ด้านนี้โดยตรงจะช่วยให้ธุรกิจเกิดความรอบคอบ ดำเนินการได้อย่างถูกต้อง ไม่เจอปัญหาเรื่องภาษีและค่าปรับอื่น ๆ ตามมาภายหลัง อีกทั้งยังช่วยให้การทำธุรกิจราบรื่น ไม่ส่งผลกระทบใด ๆ ด้วย

เรื่องการขอคืนภาษีซื้อจริงแล้วเป็นสิทธิของผู้ประกอบการจดทะเบียน Vat ทุกคน หากคุณเข้าใจหลักการเบื้องต้นอย่างถูกต้อง ก็จะช่วยให้ธุรกิจไม่เสียเปรียบ ไม่ว่าจะเป็น Vat 7% หรือ Vat 0% สำหรับผู้ส่งออกก็ตาม

 

เลขที่หนังสือ : กค 0702/พ./2896

วันที่ : 20 เมษายน 2552

เรื่อง : ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการขอคืนภาษี

ข้อกฎหมาย : มาตรา 88/6(1)(ค) แห่งประมวลรัษฎากร

ข้อหารือ

1. บริษัทฯ จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2539 จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2539 ประกอบกิจการจำหน่ายเทป แผ่นเสียง ซีดี ดีวีดี และวีซีดีเพลงจากต่างประเทศ ตั้งแต่เดือนภาษีธันวาคม 2542 จนถึงปัจจุบัน บริษัทฯ ไม่มีรายได้จากการประกอบกิจการ

2. บริษัทฯ ขอคืนภาษีเป็นเงินสด สำหรับเดือนภาษีกุมภาพันธ์ 2550 จำนวน 4,144,761.89 บาท โดยเครดิตตั้งแต่เดือน ภาษีเมษายน 2542 พันยอดมาจนถึงเดือนภาษีกุมภาพันธ์ 2550 ซึ่งเดือนเมษายน 2542 บริษัทฯ ยื่นแบบแสดงรายการภาษี มูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.30) ในส่วนของยอดขายติดลบจำนวน 3,159,402.23 บาท ภาษีขายติดลบจำนวน 224,206.36 บาท มีใบลดหนี้ จากการขายเพียงจำนวน 101,606.47 บาท
รายการ แบบ ภ.พ.30 ผลการตรวจ ผลต่าง
ยอดขาย (3,159,402.23) (101,606.47) 3,057,795.76
ภาษีขาย (224,206.36) (10,160.66) 214,045.70

3. บริษัทฯ ไม่มีรายได้จากการประกอบกิจการ แต่จะรับคืนสินค้าเพื่อทำลายตามข้อตกลงกับคู่ค้าในต่างประเทศ ใน การประกอบกิจการดังกล่าว บริษัทฯ มีภาษีซื้อเกิดขึ้นหลังจากนั้นเป็นเวลานานจนถึงเดือนภาษีกรกฎาคม 2547

4. บริษัทฯ มีเครดิตภาษีมูลค่าเพิ่มพันยอดตั้งแต่เดือนภาษีเมษายน 2542 ถึงเดือนภาษีกุมภาพันธ์ 2550 จำนวน 4,144,761.89 บาท

จึงหารือว่า
1. กรณีตาม 2 เจ้าพนักงานมีอำนาจประเมินเบี้ยปรับเงินเพิ่มได้ภายในกำหนด 10 ปี ตามมาตรา 88/6 (1)(ค) แห่ง ประมวลรัษฎากร ใช่หรือไม่

2. กรณีตาม 3 ภาษีซื้อที่เกิดขึ้นจากกิจการไม่มีรายได้เป็นภาษีซื้อต้องห้ามตามมาตรา 82/5 แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทฯ ไม่มีสิทธิขอคืน ใช่หรือไม่

3. กรณีตาม 4 การขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่เป็นเครดิตภาษีเกินกว่า 3 ปี บริษัทฯ มีสิทธิขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 84/1(1) แห่งประมวลรัษฎากร ใช่หรือไม่

แนววินิจฉัย

1. กรณีผู้ประกอบการได้ยื่นแบบ ภ.พ.30 แสดงยอดขายต่ำกว่ามูลค่าที่ผู้ประกอบการได้รับหรือพึงได้รับเป็นจำนวน เกินกว่าร้อยละยี่สิบห้าของฐานภาษีที่แสดงในแบบ ภ.พ.30 เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินภาษีในประเด็นที่ตรวจพบ ภายได้ภายในกำหนดเวลาสิบปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการภาษี ตามมาตรา 88/6(1)(ค) แห่ง ประมวลรัษฎากร

2. กรณีผู้ประกอบการไม่มีรายได้จากการประกอบกิจการ แต่ผู้ประกอบการ มีภาษีซื้อเกิดขึ้น หากการตรวจปฏิบัติการ พบว่า เป็นภาษีซื้อต้องห้ามตามมาตรา 82/5 แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ประกอบการไม่มีสิทธินำภาษีซื้อนั้นมาหักออกจากภาษีขาย ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร

3. กรณีผู้ประกอบการได้ยื่นแบบ ภ.พ.30 ขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นเครดิตภาษีตั้งแต่เดือนภาษีเมษายน 2542 และ ยกเครดิตภาษีพันยอดติดต่อกันมาจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2550 และในเดือนภาษีกุมภาพันธ์ 2550 หากผู้ประกอบการไม่ ประสงค์จะยกยอดเครดิตภาษีของเดือนภาษีดังกล่าวไปใช้ในเดือนมีนาคม 2550 ผู้ประกอบการมีสิทธิขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม พร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีของเดือนภาษีกุมภาพันธ์ 2550 ตามมาตรา 84 แห่งประมวลรัษฎากร