เอกลักษณ์ของ ‘กาแฟ’ คือ กลิ่นและรสชาติที่ทำให้ใครหลายคนติดใจ จนกลายเป็นเครื่องดื่มยอดนิยมทั่วโลก โดยความพิเศษของกลิ่นและรสชาตินั้น จะมีความแตกต่างกันที่สายพันธ์ พื้นที่เพราะปลูก สภาพอากาศ ซึ่งทั้งหมดส่งผลอย่างยิ่งต่อกลิ่นและรสชาติ จนทำให้คอกาแฟหลายคน ต้องแสวงหาเม็ดกาแฟจากที่ต่างๆ เพื่อมาลิ้มลอง จนเกิดเป็นธุรกิจเกี่ยวกับกาแฟ ทั้งการนำเข้าเมล็ดกาแฟ การนำเข้ากาแฟคั่วบด หรือการนำเข้าผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับกาแฟ กลายเป็นธุรกิจที่ค่อยๆ เติบโตขึ้น ในทุกประเทศ ไม่เว้นแม้แต่ประเทศไทย
สำหรับการนำเข้า “กาแฟ” เข้ามาขายในประเทศไทยนั้น นอกจากผู้ประกอบการต้องคัดเลือกสายพันธ์ ค้นหาแหล่งผลิตแล้ว ผู้ประกอบการจำเป็นต้องมีการขออนุญาตในการนำเข้า มีการเสียภาษี รวมทั้งศึกษาข้อกำหนดต่างๆ ซึ่งทางเราได้มีการรวบรวมข้อมูลและสรุปให้ทุกคนทราบกันค่ะ
ก่อนอื่นสิ่งที่จะต้องรู้ คือ กาแฟเป็นสินค้าที่ต้องขออนุญาตในการนำเข้า โดยสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
- กาแฟที่อยู่ในข่ายควบคุมการนำเข้า ซึ่งหมายถึงกาแฟ คั่ว บด หรือแยกกคาเฟอีนออกแล้วหรือยังไม่แยก และกาแฟสำเร็จรูป ซึ่งหมายถึงผลิตภัณฑ์ที่มีสิ่งสกัด หัวเชื้อ และสิ่งเข้มข้นของกาแฟผสมอยู่ไม่น้อยกว่าร้อยละ 54
- กาแฟที่ไม่อยู่ในข่ายควบคุมการนำเข้า กาแฟสำเร็จรูปที่มีส่วนผสมของสิ่งสกัดหัวเชื้อและสิ่งเข้มข้นของกาแฟ และของปรุงแต่งที่มีสิ่งสกัด หัวเชื้อ และสิ่งเข้มข้นของกาแฟผสมอยู่ในกาแฟในปริมาณไม่ถึงร้อยละ 54
การนำเข้ากาแฟที่อยู่ในข่ายควบคุมการนำเข้า
จะทำได้ 2 วิธี คือ
-
กรณีทั่วไป ต้องขออนุญาตนำเข้าจากกระทรวงพาณิชย์
- ผู้นำเข้าต้องทำหนังสือขออนุญาตการนำเข้าต่อกรมการค้าตาประเทศโดยต้องชี้แจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับปริมาณ มูลค่าและเหตุผลความจำเป็นในการขออนุญาตนำเข้า
-
การนำเข้าตามความตกลงระหว่างประเทศ ไม่ต้องขออนุญาตนำเข้าจากกระทรวงพาณิชย์แต่ผู้นำเข้าจะต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการบริการการนำเข้าที่กำหนดในแต่ละความตกลง ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 5 ข้อตกลงดังนี้
-
การนำเข้าตามข้อตกลงขององค์การการค้าโลก (WTO) สามารถแบ่งออกเป็น 2 กรณี คือ
- การนำเข้าในโควตา ผู้นำเข้าจะได้รับสิทธิชำระภาษีนำเข้าตามอัตราภาษี คือ ร้อยละ 30 สำหรับเม็ดกาแฟ และ ร้อยละ 40 สำหรับกาแฟสำเร็จรูป
- การนำเข้านอกโควตา ผู้นำเข้าต้องชำระภาษีนำเข้าในอัตราร้อยละ 90 สำหรับเม็ดกาแฟ และร้อยละ 49 สำหรับกาแฟสำเร็จรูป
-
การนำเข้าตามความตกลงการค้าเสรี ไทย-ออสเตรเลีย (TAFTA) แบ่งออกเป็น 2 กรณี คือ
- การนำเข้าในโควตา ผู้นำเข้าได้รับสิทธิชำระภาษีนำเข้าตามภาษีในโควตา ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อตกลง
- การนำเข้านอกโควตา ผู้นำเข้าได้รับสิทธิชำระภาษีนำเข้าต่ำกว่าอัตราความตกลง WTO ร้อยละ 10
-
การนำเข้าตามข้อตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดกันยิ่งขึ้น ไทย – นิวซีแลนด์
- ได้รับการยกเว้นการกำหนดปริมาณนำเข้า
- ไม่ต้องขออนุญาตนำเข้าไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมพิเศษ
- เป็นสินค้าที่ต้องแสดงถิ่นกำเนิดสินค้าโดยผู้ส่งออกไว้บนด้านหน้าของบัญชีสินค้า
-
การนำเข้าตามข้อตกลงความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ ไทย- ญี่ปุ่น (JTEPA)
- ต้องเป็นเม็ดกาแฟและกาแฟสำเร็จรูปที่มีถิ่นกำเนิดและส่งตรงมาจากประเทศญี่ปุ่น
- เป็นผู้มีสิทธิขอหนังสือรับรองต้องเป็นผู้ที่ได้รับการจัดสรรปริมาณการนำเข้าโควตาตามข้อตกลงการเกษตรภายใต้องค์การการค้าโลก (WTO)
-
การนำเข้าตามข้อตกลงอาเซียน-เกาหลี (AKFTA)
- ต้องเป็นเม็ดกาแฟและกาแฟสำเร็จรูปที่มีถิ่นกำเนิดและส่งตรงมาจากประเทศสมาชิกอาเซียนและเกาหลี
- เป็นผู้มีสิทธิขอหนังสือรับรองต้องเป็นผู้ที่ได้รับการจัดสรรปริมาณการนำเข้าโควตาตามข้อตกลงการเกษตรภายใต้องค์การการค้าโลก (WTO)
-
สิ่งที่ผู้ประกอบการจะต้องทำเพื่อเตรียมตัวในการนำเข้ากาแฟ
- ผู้นำเข้ากาแฟ จะต้องมีสถาณะเป็นนิติบุคคล ดังนั้นจะต้องทำการจดทะเบียนพานิชย์ ที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
- ผู้ประกอบการที่จะต้อนำเข้าวัตถุดิบผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับกาแฟ จะต้องลงทะเบียนเป็นผู้ผ่านพิธีการศุลกากรนำเข้ากับกรมศุลกากรก่อน จากนั้นจึงทำพิธีการนำเข้าทางศุลกากร และจะต้องจัดทำรานงานภาษีซื้อและรายงานสินค้าและวัตถุดิบ
- ก่อนการนำเข้ากาแฟจากต่างประเทศ จะต้องยื่นคำร้องขอรับหนังสือรับรองแสดงดารได้รับสิทธิชำระภาษีในโควตา ตามพันธกรณีตามความตกลงการเกษตรภายใต้องค์การการค้าโลก ก่อนการนำเข้า กับกรมการค้าต่างประเทศ
- จะต้องปฏิบัติตามกฎของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในการนำเข้าสินค้า
- ก่อนการนำกาแฟมาจำหน่ายในประเทศไทย จะต้องขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร กับกรมสรรพากร เพื่อยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีต่างๆ
หลังจากได้อ่านบทความแล้ว คาดว่าหลายท่านคงได้คำตอบเกี่ยวกับการนำเข้ากาแฟกันแล้วนะคะ แต่ถ้าใครยังมีคำถามหรอข้อสงสัยเกี่ยวกับการนำเข้ากาแฟ หรือภาษีเกี่ยวกับการนำเข้าหาแฟ สามารถสอบถามเข้ามาได้ที่ไลน์ fahthong ได้เลยค่ะ ทางเรายินดีตอบคำถามและตอบข้อสงสัยให้กับผู้ประกอบการทุกท่าน
ที่มา : http://taxclinic.mof.go.th