ภาษีเกี่ยวกับการวางค่ามัดจำค่าเช่า ธุรกิจให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ ไม่ว่าจะเป็นคอนโด อพาร์ทเม้น ห้องเช่า หรือแม้กระทั่งพื้นที่ให้เช่าเพื่ออยู่อาศัยทำกิจการหรือจำหน่ายสินค้า ล้วนแล้วแต่ต้องมีการบริหารจัดการ เพื่อสร้างรายได้ให้แก่ผู้ประกอบการ ซึ่งนอกจากเรื่องการบริหารจัดการแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่ผู้ประกอบการควรให้ความสำคัญ คือ ภาษี ซึ่งในวันนี้เราจะพูดถึง “ประเด็น ภาษีเกี่ยวกับการวางค่ามัดจำค่าเช่า ที่ผู้ประกอบการควรรู้ ”
การวางมัดจำ
ในธุรกิจให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ส่วนใหญ่ มักจะมีการวางมัดจำ หรือ การวางเงินไว้เป็นหลักประกันก่อน หรือเงินที่จ่ายไว้ก่อนสำหรับการเช่าอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเงินมัดจำนี้ แบ่งได้ 2 กรณี คือ
-
ไม่นับรวมเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาเช่าโดยจการคืน ทันทีเมื่ออยู่จนครบสัญญา
ตัวอย่างกรณีไม่นับรวมเป็นส่วนหนึ่งของค่าเช่า ผู้เช่าต้องการเช่าตึกสำนักงานของผู้ประกอบการเพื่อประกอบธุรกิจ โดยมีการทำสัญญาไว้ 1 ปี มีเงื่อนไขระบุว่า จะต้องวางเงินมัดจำ 2 เท่าของค่าเช่าต่อเดือน และผู้ประกอบการจะทำการคืนทันที เมื่อผู้เช่าอยู่ครบสัญญา
2. นับรวมเป็นส่วนหนึ่งของค่าเช่า
ตัวอย่างกรณีนับรวมเป็นส่วนหนึ่งของค่าเช่า มีผู้เช่าต้องการเช่าตึกสำนักงานของผู้ประกอบการเพื่อประกอบธุรกิจ โดยมีการทำสัญญาไว้ 5 ปี และเงื่อนไขระบุว่า จะต้องวางเงินมัดจำ 6 เท่าของค่าเช่าต่อเดือน โดยเงินมัดจำดังกล่าวจะเป็นส่วนหนึ่งของค่าเช่า ซึ่งกรณีของการนับรวมเงินมัดจำเป็นส่วนหนึ่งของค่าเช่า จะมีภาษีเข้ามาเกี่ยวข้อง คือ
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย
“เงินมัดจำค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์แบบเป็นส่วนหนึ่งของค่าเช่า ” หากผู้เช่าเป็นนิติบุคคลและค่ามัดจำเป็นส่วนหนึ่งของค่าเช่า เงินดังกล่าวจะถือเป็นเงินได้ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลและต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 5% จากผู้ให้เช่า ไม่ว่าผู้ให้เช่าจะเป็นคนธรรมดา หรือนิติบุคคลก็ตาม ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.1/2528 เรื่อง การใช้เกณฑ์สิทธิในการคำนวณรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมามาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากรมีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย
ยกเว้นเสียแต่ว่า การเรียกเก็บเงินมัดจำจะเข้าเงื่อนไขต่อไปนี้ ซึ่งไม่ต้องหัก ณ ที่จ่าย
(ก) โดยขนบธรรมเนียมประเพณีทางธุรกิจได้มีการเรียกเก็บเงินประกันหรือเงินมัดจำ
(ข) ต้องมีการคืนเงินประกันหรือเงินมัดจำให้แก่ผู้เช่าทันทีที่สัญญาสิ้นสุดลงโดยไม่มีเงื่อนไข แต่กรณีเกิดความเสียหายผู้ให้เช่ามีสิทธิหักกลบลบหนี้ได้
(ค) เงินประกัน หรือเงินมัดจำที่เรียกเก็บต้องไม่เกิน 3 – 6 เท่าของค่าเช่ารายเดือนและ
(ง) สัญญาให้เช่าทรัพย์สินมีอายุสัญญาไม่เกิน 3 ปี
อ่านข้อหารือสรรพากรเพิ่มเติมได้ที่นี่ https://www.rd.go.th/23811.html
โดยสรุปได้ว่า ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ของเงินมัดจำที่ผู้ประกอบการต้องรู้ คือ
1.ต้องเช็คประเภทของเงินมัดจำ
ประเภทของเงินมัดจำ |
|
1.เงินมัดจำที่จะได้คืนเมื่อสิ้นสุดสัญญา |
2.เงินมัดจำที่เป็นส่วนหนึ่งของค่าเช่า (ประเภทนี้จะเข้าเงื่อนไขการโดนหักภาษี ณ ที่จ่าย ) |
2.เงื่อนไขที่เกี่ยวข้อง
เงื่อนไขที่ผู้ให้เช่าจะต้องโดนหักภาษี ณ ที่จ่าย 5 % |
เงื่อนไขที่ผู้ให้เช่าไม่ต้องโดนหักภาษี ณ ที่จ่าย 5 % |
สัญญาเช่าเกิน 3 ปี |
ผู้เช่าเป็นบุคคลธรรมดา |
เงินมัดจำต้องเป็นส่วนหนึ่งของค่าเช่า | มีการคืนเงินประกันหรือเงินมัดจำให้แก่ผู้เช่าทันทีที่สัญญาสิ้นสุดลง |
เงินมัดจำต้องเกิน 6 เท่าของค่าเช่า | เงินมัดจำที่เรียกเก็บต้องไม่เกิน 3 – 6 เท่าของค่าเช่ารายเดือนและ |
ผู้เช่าเป็นนิติบุคคล |
สัญญาให้เช่าทรัพย์สินมีอายุสัญญาไม่เกิน 3 ปี |
3.ประเภทของผู้เช่า
ประเภทผู้เช่า |
ผู้ให้เช่าเป็นบุคคลธรรมดา |
ผู้ให้เช่าเป็นนิติบุคคล |
บุคคลธรรมดา |
ผู้ให้เช่าไม่ต้องถูกหัก ณ ที่จ่าย | ผู้ให้เช่าไม่ต้องถูกหัก ณ ที่จ่าย |
นิติบุคล |
ผู้ให้เช่าต้องถูกหัก ณ ที่จ่าย 5% |
ผู้ให้เช่าต้องถูกหัก ณ ที่จ่าย 5% |
ตัวอย่าง 1
เลขที่หนังสือ | : กค 0811/02740 |
เรื่อง | : ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการเรียกเก็บเงินประกันการเช่าและบริการ |
แนววินิจฉัย | : 1. กรณีตามข้อเท็จจริงเงินประกันการเช่าพื้นที่อาคารและให้บริการที่จอดรถแยกพิจารณา ได้ดังนี้ 1.1 กรณีภาษีเงินได้นิติบุคคล (1) เงินประกันการเช่าพื้นที่อาคาร ซึ่งมีอายุการเช่าไม่เกิน 3 ปี และมีการ เรียกเก็บเงินประกันการเช่าไม่เกิน 6 เท่าของค่าเช่ารายเดือน บริษัทฯ ไม่ต้องนำเงินประกันข้างต้น มาเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลแต่อย่างใด ตามข้อ 3 (1) ของคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.73/2541 เรื่อง การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับการเรียกเก็บเงินจ่ายล่วงหน้า เงินประกัน เงินมัดจำ หรือเงินจอง ลงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.74/2541 ฯ ลงวันที่ 28 กรกฎาคมพ.ศ. 2541 (2) กรณีเงินประกันการเช่าพื้นที่อาคาร นอกจาก (1) บริษัทฯ ต้องนำมารวม คำนวณเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มให้เช่าทรัพย์สิน หรือจะนำรายได้นั้นมาเฉลี่ยตามส่วนแห่ง จำนวนปีตามสัญญา และนำมารวมคำนวณเป็นรายได้ในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีนับแต่รอบระยะเวลาบัญชี ที่เริ่มให้เช่าทรัพย์สินก็ได้ ทั้งนี้ ตามข้อ 2 (1) (ก) แห่งคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.73/2541 ฯ ลงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2541 (3) เงินประกันการเช่าอุปกรณ์เครื่องใช้ บริษัทฯ ต้องนำรายได้ที่เรียกเก็บหรือ พึงเรียกเก็บในลักษณะเป็นเงินก้อนเพื่อตอบแทนการให้เช่าอุปกรณ์เครื่องใช้ทั้งจำนวนมารวมคำนวณเป็น รายได้เช่นเดียวกับ (2) (4) เงินประกันการให้บริการที่จอดรถ บริษัทฯ ต้องนำรายได้ที่เรียกเก็บหรือพึง เรียกเก็บในลักษณะเป็นเงินก้อนมารวมคำนวณเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มให้บริการ หรือจะ นำรายได้นั้นมาเฉลี่ยตามส่วนแห่งจำนวนปีตามสัญญาแต่ไม่เกินสิบปี และนำมารวมคำนวณเป็นรายได้ใน แต่ละรอบระยะเวลาบัญชีนับแต่ปีที่เริ่มให้บริการก็ได้ ทั้งนี้ ตามข้อ 2 (1) (ก) แห่งคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.73/2541 ฯ ลงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2541 1.2 กรณีภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย (1) กรณีการให้เช่าทรัพย์สินนอกจาก 1.1 (1) เงินประกันที่จ่ายถือเป็นการ จ่ายเงินได้เนื่องจากการให้เช่าทรัพย์สินทั้งจำนวน ผู้จ่ายมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในอัตรา ร้อยละ 5.0 ทุกครั้งที่มีการจ่าย ตามคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.4/2528 ฯ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528 (2) กรณีการให้บริการอื่น ๆ เงินประกันที่จ่ายถือเป็นเงินได้เนื่องจากการ ให้บริการทั้งจำนวน ถ้าการให้บริการนั้นเป็นบริการรับจ้างทำของผู้จ่ายมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 3.0 ทุกครั้งที่มีการจ่ายค่าจ้างทำของ ตามคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.4/2528 ฯ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528 ทั้งนี้ ตามข้อ 2 (2) แห่งคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.73/2541 ฯ ลงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2541 1.3 กรณีภาษีมูลค่าเพิ่ม (1) กรณีการให้เช่าทรัพย์สินที่มิใช่อสังหาริมทรัพย์ หรือการให้บริการอื่น ต้องนำ เงินประกันทั้งหมดที่ได้รับหรือพึงได้รับจากการให้เช่าทรัพย์สิน หรือการให้บริการอื่น มารวมคำนวณเป็น มูลค่าของฐานภาษี ตามมาตรา 79 แห่งประมวลรัษฎากร โดยถือว่าความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เกิดขึ้นในขณะได้รับชำระเงินดังกล่าวตามมาตรา 78/1 (1) แห่งประมวลรัษฎากร (2) กรณีการให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ เงินประกันที่เรียกเก็บถือเป็นส่วนหนึ่งของ ค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 81 (1) (ต) แห่ง ประมวลรัษฎากร ทั้งนี้ ตามข้อ 2 (3) แห่งคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.73/2541 ฯ ลงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2541 2. กรณีคำว่า “เงินก้อน” ตาม 1.1(3)-(5) ถ้ามีการเรียกเก็บเงินประกันหรือ เงินมัดจำเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ ไม่ถือว่าเป็นเงินก้อน (ก) โดยขนบธรรมเนียมประเพณีทางธุรกิจได้มีการเรียกเก็บเงินประกันหรือเงินมัดจำ (ข) ต้องมีการคืนเงินประกัน หรือเงินมัดจำให้แก่ผู้เช่าหรือผู้รับบริการทันทีที่สัญญา สิ้นสุดลงโดยไม่มีเงื่อนไข แต่กรณีเกิดความเสียหาย ผู้ให้เช่าหรือผู้ให้บริการมีสิทธิหักกลบลบหนี้ได้ (ค) เงินประกัน หรือเงินมัดจำที่เรียกเก็บต้องไม่เกิน 6 เท่าของค่าเช่าหรือ ค่าบริการรายเดือนและ (ง) สัญญาการให้เช่าทรัพย์สินหรือการให้บริการมีอายุสัญญาไม่เกิน 3 ปี ดังนั้น กรณีเงินประกันการให้เช่าสังหาริมทรัพย์ หรือการให้บริการอื่น ถ้ามีการ เรียกเก็บตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว ก็จะไม่ถือเป็นเงินก้อน จึงไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ และไม่ต้องถูกหักภาษี เงินได้ ณ ที่จ่าย แต่อย่างใด |
ตัวอย่างที่ 2
เลขที่หนังสือ | : กค 0811/17110 |
เรื่อง | : ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการเรียกเก็บเงินประกันการเช่า |
แนววินิจฉัย | : บริษัทฯ ประกอบกิจการให้เช่าอาคาร อุปกรณ์ และให้บริการอื่น โดยมีการเรียกเก็บเงินประกันการเช่าและการรับบริการจำนวนหนึ่ง เพื่อเป็นการประกันว่าผู้เช่าจะปฏิบัติตามสัญญา และผู้ให้เช่าจะคืนเงินประกันดังกล่าวโดยไม่มีดอกเบี้ยภายใน 30 วันนับแต่วันที่ผู้เช่าส่งมอบอุปกรณ์ และพื้นที่เช่าคืนให้แก่ผู้ให้เช่าในสภาพเรียบร้อยโดยไม่ตัดสิทธิ์ผู้เช่าที่จะได้รับชดใช้ค่าเสียหายอื่น ๆ (ถ้ามี) เงินประกันดังกล่าว บริษัทฯ มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่มดังนี้ 1. กรณีภาษีเงินได้นิติบุคคล เงินประกันดังกล่าวถือเป็นค่าเช่าและค่าบริการรับล่วงหน้าจึงเป็นรายได้ที่บริษัทฯ ต้องนำไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร 2. กรณีภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ก. ผู้จ่ายเงินประกันการเช่า ค่าเช่าพื้นที่อาคารและค่าเช่าอุปกรณ์ ถือเป็นการจ่ายค่าเช่าทั้งจำนวน จึงมีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 5.0 ตามคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528 ข. สำหรับการจ่ายเงินประกันการรับบริการ และค่าบริการ ถือเป็นการจ่ายค่าบริการทั้งจำนวน ถ้าเป็นบริการรับจ้างทำของ ผู้จ่ายมีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 3.0 ตามคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.4/2528 ฯ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528 3. กรณีภาษีมูลค่าเพิ่ม ก. กรณีการเรียกเก็บเงินประกันการเช่าพื้นที่อาคาร ถือเป็นส่วนหนึ่งของค่าเช่าอาคาร ซึ่งเป็นการเช่าอสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ดังนั้น ทั้งเงินประกันการเช่าและค่าเช่าพื้นที่อาคารจึงไม่ต้องนำไปเสียภาษีมูลค่าเพิ่มแต่อย่างใด ตามมาตรา 81(1)(ต) แห่งประมวลรัษฎากร ข. กรณีการเรียกเก็บเงินประกันการเช่าอุปกรณ์ และบริการอื่น ถือเป็นส่วนหนึ่งของค่าเช่าอุปกรณ์และค่าบริการ จึงต้องนำเงินประกันค่าเช่าอุปกรณ์และค่าบริการไปเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 78/1(1) แห่งประมวลรัษฎากร |
หากมีคำถามเพิ่มเติมสามารถติดต่อเราได้ที่ https://fahthongacc.com