ภาษีธุรกิจโรงแรมร้านอาหาร ที่ผู้ประกอบการควรรู้

ภาษีธุรกิจโรงแรมร้านอาหาร

ในการทำธุรกิจประเภทโรงแรมหรือร้านอาหาร จะมีเรื่อง ภาษีธุรกิจโรงแรมร้านอาหาร เข้ามาเกี่ยวข้องเป็น 2 ช่วงเวลา ขึ้นอยู่กับการดำเนินงาน และเพื่อให้เกิดความเข้าใจง่าย แม้ว่าคุณคือมือใหม่ที่พึ่งเข้าสู่วงการธุรกิจนี้ก็ต้องรู้เรื่องภาษีเพื่อป้องกันข้อผิดพลาดและไม่เกิดความเสี่ยงตามมาจนถึงขั้นโดนปรับภายหลัง

ภาษีธุรกิจโรงแรมร้านอาหาร ช่วงเริ่มทำธุรกิจ

  1. ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

ปัจจุบันที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ทำประโยชน์ได้ตั้งแต่การอยู่อาศัยไปจนถึงการทำธุรกิจต้องเสียภาษีตามเกณฑ์ที่รัฐบาลกำหนดเอาไว้ โดยเป็นการใช้มูลค่าทั้งหมดมาเป็นฐานภาษี ซึ่งกลุ่มธุรกิจโรงแรมและร้านอาหารจัดอยู่ในหมวดที่ดินกลุ่มพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรม มีอัตราล่าสุด (อัปเดต 2565) อยู่ที่ 0.3-0.7%

  1. ภาษีป้าย

คือ ภาษีที่ดำเนินการจัดเก็บจากป้ายซึ่งมีวัตถุประสงค์ทางการค้าหรือสร้างรายได้ให้กับบุคคลหรือนิติบุคคล ทั้งนี้ก็จะแบ่งออกเป็นประเภทว่าโรงแรมหรือร้านอาหารของคุณติดป้ายแบบใด เช่น ป้ายภาษาไทยล้วน, ไทยผสมต่างชาติและมีเครื่องหมาย ภาพอื่น ๆ และป้ายไม่มีภาษาไทย หรือมีบางส่วน หรือทั้งหมดอยู่ต่ำกว่าภาษษต่างชาติ

  1. ภาษีศุลกากร

คนทำร้านอาหารและโรงแรมที่มีบริการอาหารต้องจ่ายเมื่อนำเข้าสินค้า วัตถุดิบ เครื่องจักรจากต่างประเทศตามบัญชีภาษีนำเข้า ซึ่งอัตราภาษีแต่ละประเภทจะต่างกันออกไป

  1. ภาษีหัก ณ ที่จ่าย

เมื่อมีการจ้างงานเกิดขึ้นผู้จ้างต้องหักภาษีจากการจ่ายเงินให้ผู้รับจ้าง ปกติแล้วจะหักอยู่ที่ 3% ของรายได้ทั้งหมดที่ทำการจ่ายในเดือนนั้น ๆ แล้วนำส่งให้กับกรมสรรพากรไม่เกินวันที่ 7 ของเดือนถัดไป ทั้งนี้ยังหมายรวมถึงค่าขนส่ง, ค่าเช่า, ค่าโฆษณา เงินปันผล และค่าบริการอื่น ๆ ด้วย

  1. อากรแสตมป์

หากทำสัญญาเช่าที่ดิน ผู้ให้เช่าต้องเสียค่าอากรแสตมป์ 1 บาท ต่อ 1,000 บาท หรือธุรกิจมีการให้กู้ยืมเงินผู้กู้ต้องเสียค่าอากรแสตมป์ 1 บาท ต่อ 2,000 บาท

ภาษีธุรกิจโรงแรม ร้านอาหารช่วงทำกิจการ

  1. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

หากไม่ได้เปิดในนามนิติบุคคลจะจัดอยู่ในเงินได้พึงประเมินมาตรา 40 (8) เลือกหักค่าใช้จ่ายตามจริงหรือเหมา 70% ในธุรกิจโรงแรม และ 60% ในธุรกิจร้านอาหาร ทั้งนี้ต้องทำการยื่น ภ.ง.ด. 94 ชำระภาษีกลางปี และ ภ.ง.ด. 90 ชำระภาษีสิ้นปีด้วย

  1. ภาษีเงินได้นิติบุคคล

กรณีจดทะเบียนนิติบุคคลก็ต้องทำการเสียภาษีในส่วนนี้ (ตัวผู้ประกอบการจะถูกจัดให้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดามาตรา 40 (1) แทน) แบ่งออกเป็น 2 ช่วงคือ ภ.ง.ด. 51 ยื่นภาษีครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี และ ภ.ง.ด. 50 ภาษีสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี

  1. ภาษีมูลค่าเพิ่ม

ภาษีที่ได้จากการขายสินค้าและบริการ ซึ่งกรณีมีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาท ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มภายใน 30 วัน และจัดเก็บในอัตรา 7%

 

หากมีข้อสงสัยหรือต้องการสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ fahthongacc ผู้ช่วยทางบัญชีที่จะให้คุณทำธุรกิจโรงแรมร้านอาหารได้อย่างสบายใจ ไม่ต้องกังวลใจเรื่งภาษี

ที่มา https://chicaccounting.com/