ภาษีที่เกี่ยวข้องกับแพทย์ หมอฟัน คลินิก

ภาษีที่เกี่ยวข้องกับแพทย์ หมอฟัน คลินิก

สำหรับผู้ที่ประกอบอาชีพแพทย์ ทันตแพทย์ (หมอฟัน) หรือสนใจเปิดคลินิกเพื่อรักษาคนไข้ ก็ต้องมีเรื่องภาษีเข้ามาเกี่ยวข้องไม่ต่างจากอาชีพหรือธุรกิจอื่น ๆ จึงขอสรุปรวมแบบเข้าใจง่ายให้บรรดาคุณหมอทั้งที่พึ่งเรียนจบแล้วมาประกอบวิชาชีพแพทย์ หรือคนที่อยากทำธุรกิจคลินิกด้านการแพทย์ของตนเอง ซึ่งสิ่งที่เข้ามาส่วนสำคัญคือ ภาษีที่เกี่ยวข้องกับแพทย์ หมอฟัน คลินิก สรุปได้ดังนี้

ภาษีที่เกี่ยวข้องกับแพทย์ หมอฟัน คลินิก มีดังนี้

กลุ่มภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

เป็นเรื่องปกติของผู้มีรายได้ถึงเกณฑ์ประเมินต้องทำการยื่นภาษีให้กับกรมสรรพากร หากจำนวนรายได้ถึงตามที่ระบุเอาไว้ในกฎหมายเงินได้ประเภทใดก็ต้องเสียภาษีไม่ต่างจากอาชีพอื่น ซึ่งแพทย์ หมอฟัน คลินิก จะแบ่งกลุ่มเงินได้พึงประเมินดังนี้

  • เงินได้พึงประเมิน 40 (1) จากการจ้างงานประจำของทางโรงพยาบาล คลินิก มีรายได้จากเงินเดือน เบี้ยเลี้ยง ค่าเข้าเวร เงิน พ.ต.ส. ค่าล่วงเวลา เป็นต้น
  • เงินได้พึงประเมิน 40 (2) จากการจ้างงานนอกเหนืองานประจำ เช่น ไปรับเข้าเวรให้กับโรงพยาบาล, คลินิกอื่นหลังเลิกงาน
  • เงินได้พึงประเมิน 40 (5) กรณีเปิดคลินิกของตนเองแล้วมีพื้นที่บางส่วนเปิดให้ให้แพทย์ด้านอื่นเช่าสำหรับทำคลินิกเพิ่มเติม หรือเช่าสถานที่ด้านอื่น อาทิ เก็บเครื่องมือแพทย์ ฯลฯ และรับเป็นค่าเช่า
  • เงินได้พึงประเมิน 40 (6) เงินได้พึงประเมินจากค่าวิชาชีพแพทย์ ทำอาชีพแพทย์โดนใช้ความรู้ที่ตนเองมี อาจไม่ใช่การจ้างประจำ แต่ทำข้อตกลงกับทางสถานพยาบาลเอาไว้ หรือกรณีเปิดคลินิกประเภทไม่มีเตียง มีใบประกอบโรคศิลป์
  • เงินได้พึงประเมิน 40 (8) การเปิดคลินิกประเภทมีเตียง ค้างคืนได้ รวมถึงการขายยาในคลินิกของตนเอง

กลุ่มภาษีเงินได้นิติบุคคล

หากมีการเปิดคลินิกในรูปแบบของนิติบุคคล ก็ต้องเสียภาษีเงินได้ในส่วนนี้ด้วย ตามหลักการของภาษีคือ นำกำไรสุทธิ (รายได้ – ค่าใช้จ่าย) ที่เข้าเกณฑ์ไปเทียบกับอัตราภาษีแล้วชำระ อย่างไรก็ตามการเปิดในนามของนิติบุคคลก็ยังมีภาษีที่เกี่ยวข้องด้วย ตั้งแต่กรณีการจ่ายชำระเงินเดือนให้กับตนเองก็จะเข้าเกณฑ์เงินได้พึงประเมิน 40 (1) และยังมีภาษีอื่น ๆ ได้แก่

  1. ภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ ภาษี VAT หากมีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาท / ปี ต้องทำการจดทะเบียนภาษี VAT ไม่เกิน 30 วัน หลังมีรายได้ครบ และมีการออกใบกำกับภาษีทุกครั้ง อย่างไรก็ตามการเปิดคลินิกจะแบ่งรายได้เกี่ยวกับภาษี VAT ดังนี้
  • รายได้ที่ไม่มีภาษีมูลค่าเพิ่ม กลุ่มรายได้ค่ารักษาพยาบาล เช่น จัดฟัน รักษารากกฟัน การตรวจรักษาด้วยวิธีทั่วไป (ต้องมีใบอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาล)
  • รายได้มีภาษีมูลค่าเพิ่ม กลุ่มรายได้จากการขายสินค้า เช่น ค่ายา อุปกรณ์ด้านการแพทย์
  1. ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย หักตามประเภทและอัตราที่กรมสรรพากรกำหนด
  2. ภาษีป้าย เช่น เปิดคลินิกมีป้ายหน้าร้าน จะขึ้นอยู่กับกฎหมายกำหนดเอาไว้ ป้ายอักษรไทยล้วน, อักษรไทยผสมต่างประเทศ เป็นต้น

หากมีข้อสงสัยหรือยังไม่แน่ใจสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ fahthongacc ผู้ช่วยทางบัญชีที่จะให้คุณหมดปัญหาเรื่องภาษี

ที่มา https://chicaccounting.com/