นำเข้ากาแฟ เข้ามาขายในประเทศไทยนั้น นอกจากผู้ประกอบการต้องคัดเลือกสายพันธ์ ค้นหาแหล่งผลิตแล้ว ผู้ประกอบการจำเป็นต้องมีการขออนุญาตในการนำเข้า มีการเสียภาษี รวมทั้งศึกษาข้อกำหนดต่างๆ ซึ่งทางเราได้มีการรวบรวมข้อมูลและสรุปให้ทุกคนทราบ
เอกลักษณ์ของ ‘กาแฟ’ คือ กลิ่นและรสชาติที่ทำให้ใครหลายคนติดใจ จนกลายเป็นเครื่องดื่มยอดนิยมทั่วโลก โดยความพิเศษของกลิ่นและรสชาตินั้น จะมีความแตกต่างกันที่สายพันธ์ พื้นที่เพราะปลูก สภาพอากาศ ซึ่งทั้งหมดส่งผลอย่างยิ่งต่อกลิ่นและรสชาติ จนทำให้คอกาแฟหลายคน ต้องแสวงหาเม็ดกาแฟจากที่ต่างๆ เพื่อมาลิ้มลอง จนเกิดเป็นธุรกิจเกี่ยวกับกาแฟ ทั้งการนำเข้าเมล็ดกาแฟ การนำเข้ากาแฟคั่วบด หรือการนำเข้าผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับกาแฟ กลายเป็นธุรกิจที่ค่อยๆ เติบโตขึ้น ในทุกประเทศ ไม่เว้นแม้แต่ประเทศไทย
สำหรับการนำเข้า “กาแฟ” เข้ามาขายในประเทศไทยนั้น นอกจากผู้ประกอบการต้องคัดเลือกสายพันธ์ ค้นหาแหล่งผลิตแล้ว ผู้ประกอบการจำเป็นต้องมีการขออนุญาตในการนำเข้า มีการเสียภาษี รวมทั้งศึกษาข้อกำหนดต่างๆ ซึ่งทางเราได้มีการรวบรวมข้อมูลและสรุปให้ทุกคนทราบกันค่ะ
ก่อนอื่นสิ่งที่จะต้องรู้ คือ การนำเขากาแฟ จะต้องมีการขออนุญาต โดยสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
- กาแฟที่อยู่ในข่ายควบคุมการนำเข้า ซึ่งหมายถึงกาแฟ คั่ว บด หรือแยกกคาเฟอีนออกแล้วหรือยังไม่แยก และกาแฟสำเร็จรูป ซึ่งหมายถึงผลิตภัณฑ์ที่มีสิ่งสกัด หัวเชื้อ และสิ่งเข้มข้นของกาแฟผสมอยู่ไม่น้อยกว่าร้อยละ 54
- กาแฟที่ไม่อยู่ในข่ายควบคุมการนำเข้า กาแฟสำเร็จรูปที่มีส่วนผสมของสิ่งสกัดหัวเชื้อและสิ่งเข้มข้นของกาแฟ และของปรุงแต่งที่มีสิ่งสกัด หัวเชื้อ และสิ่งเข้มข้นของกาแฟผสมอยู่ในกาแฟในปริมาณไม่ถึงร้อยละ 54
การนำเข้ากาแฟ ที่อยู่ในข่ายควบคุมการนำเข้า
จะทำได้ 2 วิธี คือ
-
กรณีทั่วไป ต้องขออนุญาตนำเข้าจากกระทรวงพาณิชย์
- ผู้นำเข้าต้องทำหนังสือขออนุญาตการนำเข้าต่อกรมการค้าตาประเทศโดยต้องชี้แจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับปริมาณ มูลค่าและเหตุผลความจำเป็นในการขออนุญาตนำเข้า
-
การนำเข้าตามความตกลงระหว่างประเทศ ไม่ต้องขออนุญาตนำเข้าจากกระทรวงพาณิชย์แต่ผู้นำเข้าจะต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการบริการการนำเข้าที่กำหนดในแต่ละความตกลง ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 5 ข้อตกลงดังนี้
-
การนำเข้ากาแฟ ตามข้อตกลงขององค์การการค้าโลก (WTO) สามารถแบ่งออกเป็น 2 กรณี คือ
- การนำเข้าในโควตา ผู้นำเข้าจะได้รับสิทธิชำระภาษีนำเข้าตามอัตราภาษี คือ ร้อยละ 30 สำหรับเม็ดกาแฟ และ ร้อยละ 40 สำหรับกาแฟสำเร็จรูป
- การนำเข้านอกโควตา ผู้นำเข้าต้องชำระภาษีนำเข้าในอัตราร้อยละ 90 สำหรับเม็ดกาแฟ และร้อยละ 49 สำหรับกาแฟสำเร็จรูป
-
การนำเข้ากาแฟ ตามความตกลงการค้าเสรี ไทย-ออสเตรเลีย (TAFTA) แบ่งออกเป็น 2 กรณี คือ
- การนำเข้าในโควตา ผู้นำเข้าได้รับสิทธิชำระภาษีนำเข้าตามภาษีในโควตา ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อตกลง
- การนำเข้านอกโควตา ผู้นำเข้าได้รับสิทธิชำระภาษีนำเข้าต่ำกว่าอัตราความตกลง WTO ร้อยละ 10
-
การนำเข้ากาแฟ ตามข้อตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดกันยิ่งขึ้น ไทย – นิวซีแลนด์
- ได้รับการยกเว้นการกำหนดปริมาณนำเข้า
- ไม่ต้องขออนุญาตนำเข้าไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมพิเศษ
- เป็นสินค้าที่ต้องแสดงถิ่นกำเนิดสินค้าโดยผู้ส่งออกไว้บนด้านหน้าของบัญชีสินค้า
-
การนำเข้าตามข้อตกลงความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ ไทย- ญี่ปุ่น (JTEPA)
- ต้องเป็นเม็ดกาแฟและกาแฟสำเร็จรูปที่มีถิ่นกำเนิดและส่งตรงมาจากประเทศญี่ปุ่น
- เป็นผู้มีสิทธิขอหนังสือรับรองต้องเป็นผู้ที่ได้รับการจัดสรรปริมาณการนำเข้าโควตาตามข้อตกลงการเกษตรภายใต้องค์การการค้าโลก (WTO)
-
การนำเข้าตามข้อตกลงอาเซียน-เกาหลี (AKFTA)
- ต้องเป็นเม็ดกาแฟและกาแฟสำเร็จรูปที่มีถิ่นกำเนิดและส่งตรงมาจากประเทศสมาชิกอาเซียนและเกาหลี
- เป็นผู้มีสิทธิขอหนังสือรับรองต้องเป็นผู้ที่ได้รับการจัดสรรปริมาณการนำเข้าโควตาตามข้อตกลงการเกษตรภายใต้องค์การการค้าโลก (WTO)
-
สิ่งที่ผู้ประกอบการจะต้องทำเพื่อเตรียมตัวในการ นำเข้ากาแฟ
- ผู้นำเข้ากาแฟ จะต้องมีสถาณะเป็นนิติบุคคล ดังนั้นจะต้องทำการจดทะเบียนพานิชย์ ที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
- ผู้ประกอบการที่จะต้อนำเข้าวัตถุดิบผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับกาแฟ จะต้องลงทะเบียนเป็นผู้ผ่านพิธีการศุลกากรนำเข้ากับกรมศุลกากรก่อน จากนั้นจึงทำพิธีการนำเข้าทางศุลกากร และจะต้องจัดทำรานงานภาษีซื้อและรายงานสินค้าและวัตถุดิบ
- ก่อนการนำเข้ากาแฟจากต่างประเทศ จะต้องยื่นคำร้องขอรับหนังสือรับรองแสดงดารได้รับสิทธิชำระภาษีในโควตา ตามพันธกรณีตามความตกลงการเกษตรภายใต้องค์การการค้าโลก ก่อนการนำเข้า กับกรมการค้าต่างประเทศ
- จะต้องปฏิบัติตามกฎของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในการนำเข้าสินค้า
- ก่อนการนำกาแฟมาจำหน่ายในประเทศไทย จะต้องขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร กับกรมสรรพากร เพื่อยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีต่างๆ
หลังจากได้อ่านบทความแล้ว คาดว่าหลายท่านคงได้คำตอบเกี่ยวกับการนำเข้ากาแฟกันแล้วนะคะ แต่ถ้าใครยังมีคำถามหรอข้อสงสัยเกี่ยวกับการนำเข้ากาแฟ หรือภาษีเกี่ยวกับการนำเข้าหาแฟ สามารถสอบถามเข้ามาได้ที่ไลน์ fahthong ได้เลยค่ะ ทางเรายินดีตอบคำถามและตอบข้อสงสัยให้กับผู้ประกอบการทุกท่าน
ที่มา : http://taxclinic.mof.go.th