ภาษีที่ นักโปรแกรมเมอร์ ควรรู้

นักโปรแกรมเมอร์

ในปัจจุบันอาชีพ นักโปรแกรมเมอร์ เป็นอาชีพที่กำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เนื่องจากการเติบโตของเทคโนโลยี ทำให้ต้องมีการพัฒนาและสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ อยู่เสมอ โดยหน้าที่หลัก คือการนำข้อมูลไปออกแบบรายละเอียดการวางโครงสร้างระบบและทำการตรวจสอบรหัสที่เกิดข้อผิดพลาดหรือซ่อมแซมแก้ไข
ในกรณีที่เกิดปัญหาจากการทำงาน ซึ่งคนที่จะทำงานสายนี้อาจเป็นทั้งคนที่ทำงานในบริษัทที่มีการพัฒนาโปรแกรมหรือแอพลิเคชัน หรือเป็นโปรแกรมเมอร์แบบฟรีแลนซ์ที่รับออกแบบหรือพัฒนาระบบ ซึ่งสิ่งหนึ่งที่จะเข้ามาเกี่ยวข้องอย่างแน่นอนคือ ภาษี ซึ่งโปรแกรมเมอร์หลายๆ คนอาจยังไม่รู้

โดยในวันนี้เราจะมาอธิบายว่าสำหรับนักโปรแกรมเมอร์นั้น มีภาษีอะไรที่เกี่ยวข้องบ้าง มีความแตกต่างอย่างไรระหว่างโปรแกรมเมอร์ที่เป็นฟรีแลนซ์ และโปรแกรมเมอร์มี่เป็นพนักงานบริษัท มาทำความเข้าใจไปพร้อม ๆ กันนะคะ

ก่อนอื่นเลยเราจะขอแบ่ง นักโปรแกรมเมอร์ เป็น 3 ประเภทคือ

  • โปรแกรมเมอร์ที่ทำงานในบริษัท มีหน้าที่ในการพัฒนาหรือออกแบบโปรแกรมให้กับบริษัท
  • โปรแกรมเมอร์ที่เป็นฟรีแลนซ์ ทำหน้าที่ในการพัฒนา ดูแล หรือออกแบบระบบตามที่ผู้ว่าจ้างกำหนด
  • โปรแกรมเมอร์ที่เขียนโปรแกรมและจำหน่ายด้วยตนเอง ทั้งในฐานะของบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล
  1. นักโปรแกรมเมอร์ ที่เป็นพนักงานในบริษัท มีหน้าที่ในการพัฒนาหรือออกแบบโปรแกรมให้กับบริษัท

ในกรณีที่โปรแกรมเมอร์เป็นพนักงานในบริษัท มีหน้าที่ในการเขียนโปรแกรม พัฒนาและดูแลระบบตามที่บริษัทได้มอบหมายให้ทำ โดยได้รับผลตอบแทนเป็นเงินเดือน โบนัส หรือโอที ในกรณีดังกล่าวตัวโปรแกรมที่โปรแกรมเมอร์ได้ออกแบบ หรือพัฒนาจะถือเป็นลิขสิทธิ์ของบริษัทฯ ตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537

ในกรณีดังกล่าว รายได้จากเงินเดือนของโปรแกรมเมอร์จะถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากร โดยโปรแกรมเมอร์สามารถหักค่าใช้จ่าย สำหรับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) (เงินเดือน ค่าจ้าง) หักเป็นการเหมาได้ ร้อยละ 50 แต่ไม่เกิน 100,000 บาท

ภาษี หัก ณ ที่จ่าย : บริษัทที่มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายของโปรแกรมเมอร์ และมีหน้าที่ยื่นแบบ ภ.ง.ด.1 แสดงรายการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย พร้อมกับนำเงินภาษีส่งต่อเจ้าพนักงานภายใน 7 วัน นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงิน ไม่ว่าจะหักภาษีไว้หรือไม่ก็ตาม ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในท้องที่ที่ผู้มีหน้าที่ หักภาษี ณ ที่จ่ายมีสำนักงานตั้งอยู่ซึ่งได้มีการจ่ายเงิน

  1. นักโปรแกรมเมอร์ ที่เป็นฟรีแลนซ์ ทำหน้าที่ในการพัฒนา ดูแล หรือ ออกแบบระบบตามที่ผู้ว่าจ้างกำหนด

กรณีบุคคลธรรมดาประกอบอาชีพโปรแกรมเมอร์ รับงานออกแบบและเขียนโปรแกรม ตามความต้องการของลูกค้า (freelance) ซึ่งรายได้จะมาจากค่าจ้างที่ลูกค้าจะจ่ายเงินให้เมื่อเสร็จงาน โดยลักษณะในการทำงานจะไม่มีกฎระเบียบหรือข้อบังคับตายตัว มีอิสระในการทำงาน

          ในกรณีดังกล่าวค่าจ้างที่โปรแกรมเมอร์ได้รับจากลูกค้าจะถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (2) จะสามารถหักค่าใช้จ่ายได้ได้ 50 %  แต่ไม่เกิน 100,000

ข้อแนะนำ : หากมีรายได้ทั้งเงินเดือน และค่าจ้างจากการรับงานเพิ่มเติม จะถือว่ามีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) และ 40 (2) ให้นำเงินได้ทั้ง 2 ประเภทรวมกัน หักค่าใช้จ่ายได้ 50% แต่รวมกันไม่เกิน 100,000 บาท

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย : ในกรณีเป็นฟรีแลนซ์ รับงานจากผู้ว่าจ้างที่เป็นนิติบุคคล ผู้ว่าจ้างที่เป็นนิติบุคคลจะมีหน้าที่หัก ณ ที่จ่าย 3% เพื่อส่งสรรพากร

  1. นักโปรแกรมเมอร์ที่เขียนโปรแกรมและจำหน่ายด้วยตนเอง ทั้งในฐานะของบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล

กรณีที่โปรแกรมเมอร์เป็นผู้เขียนโปรแกรมและจัดจำหน่ายด้วยตนเอง โดยที่โปรแกรมเมอร์ได้มีการจดลิขสิทธิ์และสิทธิบัตรเอาไว้ โปรแกรมดังกล่าวจะถือเป็นลิขสิทธิ์ของผู้เขียนโปรแกรม

เมื่อโปรแกรมเมอร์มีการนำระบบหรือโปรแกรมที่ได้เขียนหรือออกแบบขึ้นไปจำหน่าย เมื่อมีรายได้จากการขายโปรแกรมหรือระบบดังกล่าว จะถือว่าเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (3) สามารหักค่าใช้จ่าย50% แต่รวมกันไม่เกิน 100,000 บาท หรือตามที่จ่ายจริง

ข้อควรระวังคือ :  ต้องพิสูจน์ให้ได้ว่ามีคนซื้อลิขสิทธิ์เราไปใช้จริง และต้องมีการจดลิขสิทธิ์หรือสิทธิบัตรด้วย หากไม่มี จะถือว่าเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (2) ทันที

กรณีตัวแทนจำหน่ายนำโปรแกรมดังกล่าวที่ซื้อจากบริษัทฯ ไปขายให้แก่ผู้ซื้อซึ่งเป็นนิติบุคคล เงินได้ที่บริษัทฯ และตัวแทนจำหน่ายได้รับ ถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(3) แห่งประมวลรัษฎากร จะต้องถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 3.0 ทั้งนี้ ตามคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 101/2544 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย

อีก 1 ข้อสงสัยสำหรับนักโปรแกรมเมอร์ คือ แล้วเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (7) จะมีลักษณะอย่างไร

เงินได้พึงประเมินจากการเขียนโปรแกรม จะเข้าตามมาตรา 40 (7) ก็ต้องมีลักษณะ คือ ต้องออกแบบระบบหรือโปรแกรม (เขียน) ขึ้นมาใหม่ และต้องจัดหาวัสดุอุปกรณ์ที่จะทำให้โปรแกรมใช้งานได้ภายใต้ Hardware  คือ สายไฟ ตัวเครื่องคอม คีย์บอร์ด เซฟเวอร์ โดยมีการจัดหาด้วยตนเอง ถึงจะเข้าเป็นงานรับเหมาและจัดหาวัสดุอุกรณ์ โดยข้อแตกต่างจากจุดต่างกับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(2) คือเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (7) จะใช้ทั้งสมองในการเขียนโปรแกรม ลงแรงทำงาน และจะต้องมีการลงทุนซื้อของมาก่อนด้วย

ตัวอย่างเช่น บริษัท A จ้างให้นาย B วางระบบที่ใช้ในบริษัทรวมทั้งมีการติดตั้งอุปกรณ์ทั้งหมด เช่น คอมพิวเตอร์ที่ใช้ในบริษัท ระบบไฟ เราเตอร์ รวมทั้งห้องเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้ควบคุมระบบ โดยนาย B เป็นผู้ลงทุนค่าอุปกรร์ทั้งหมด โดยมีการคิดค่าใช้จ่ายเป็นแบบเหมาทั้งค่าเขียนระบบ ค่าออกแบบ รวมทั้งค่าติดตั้งอุปกรณ์

โดยในกรณีดังกล่าว เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (7) จะสามารถหักค่าใช้จ่ายได้ 60 % หรือหักได้ตามความเป็นจริงแต่จะต้องมีเอกสารแสดงการรับเงินที่ถูกต้องตามรูปแบบที่สรรพากรกำหนด

หากใครยังมีข้อสงสัย หรือยังมีคำถามเพิ่มเติม สามารถทักหาเราได้ที่ fahthongacc เราพร้อมบริการทางด้านบัญชีและภาษีและตอบข้อสงสัยให้แก่ทุกคคนค่า

ที่มา https://chicaccounting.com